Kite-Flying Festival
Kite-flying is popular among Thai people from all walks of life especially young children in the countryside. The kite-flying season usually takes place between February and April when the south – west monsoon blows from the Gulf of Thailand and the rice harvesting season is over.
Kite-flying was said to have its origins in China at least 3,000 years ago during the Han Dynasty. The Chinese armies made kites attached with bamboo pipes to fly over the enemy. When the wind passed through the pipes, it made an eerie whistling sound causing the enemy to panic and ran for their lives.
In the early Siamese kingdom of Ayutthaya, kite-flying was so popular that it was prohibited to fly kites over the royal palace as they might damage the architectural spires. Meanwhile, kite-flying gained its highest popularity in the reign of King Rama IV when a royal decree allowed citizens to fly kites at Sanam Luang, opposite the Grand Palace.
To preserve the Summer tradition and promote the tourism industry of the country, kite-flying has now received a greater attention from the authorities. Kite enthusiasts from several countries have even been invited to display their teams also took part in the contest. Spectators were able to see Thai kite fighting contests between the traditional Chula and Pakpao kites as well.
Above all, they are able to discover hundreds of different kings of kites in a myriad of sizes, colours, shapes and styles flying in the clear Summer sky above the Sanam Luang ground.
Out of the contest, at this time of the year kites, large and small, of every colour, shape and dimension always fill the sky all over the country. They are spinning, floating, soaring, swooping and even crashing to the ground. Grown-ups and children alike enjoy watching the clear sky decorated with extraordinary kites throughout the Summer vacation.
เทศกาลแข่งว่าว
การเล่นว่าวเป็นที่นิยมมากในหมู่คนไทยจากทุกสาขาอาชีพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กๆ ในชนบทตามปกติฤดูกาลเล่นว่าวจะมีขึ้นระหว่างเดือนกุมภาพันธ์และเดือนเมษายน เมื่อมีมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ (ลมตะเภา) พัดมาจากอ่าวไทยและหมดฤดูกาลเก็บเกี่ยวแล้ว
กล่าวกันว่า การเล่นว่าวนี้มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีนไม่ต่ำกว่า 3000 ปีมาแล้ว ในระหว่างการปกครองของราชวงศ์ฮั่น ทหารจีนทำว่าวขึ้นโดยใช้ท่อไม้ไผ่ผูกติดไว้แล้วปล่อยให้ลอยอยู่เหนือหัวข้าศึก เมื่อลมผ่านเข้าไปในท่อ ก็ทำให้เกิดเสียงหวีดน่ากลัวทำให้ข้าศึกตื่นตระหนกและวิ่งหนีเอาตัวรอด
ในช่วงอาณาจักรกรุงศรีอยุธยาตอนต้น การเล่นว่าวเป็นที่นิยมกันมากจนกระทั่งว่ามีการออกกฏห้ามเล่นว่าวเหนือพระราชวังเพราะอาจทำให้ยอดแหลมของสถาปัตยกรรมต่าง ๆ เสียหายได้ ในขณะเดียวกัน การเล่นว่าวก็ได้รับความนิยมสูงสุดในช่วงการครองราชย์ของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 4 (พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) เมื่อมีการออกพระราชกฤษฎีกาอนุญาตให้พสกนิกรเล่นว่าวได้ที่ท้องสนามหลวง (ตรงข้ามพระบรมมหาราชวัง)
เพื่อเป็นการดำรงไว้ซึ่งประเพณีในช่วงฤดูร้อนและส่งเสริมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศตอนนี้การเล่นว่าวก็ได้รับความสนใจจากทางการมากขึ้น นักนิยมว่าวจากหลายประเทศก็ได้รับการเชิญให้มาแสดงฝีมือและทักษะในการแข่งขันว่าวที่จัดขึ้นในประเทศ ทีมไทยหลายทีมก็ได้เข้าร่วมในการแข่งขันนี้ด้วย ผู้ชมสามารถดูการแข่งขันว่าวไทยระหว่างว่าวจุฬาและปักเป้าดั่งเดิมได้ด้วย
เหนือสิ่งอื่นใด พวกเขาจะได้พบว่าวต่าง ๆ มากมายหลายร้อยชนิด แตกต่างกันด้วยขนาดและรูปทรงลอยอยู่ในท้องฟ้าช่วงฤดูร้อนอันแจ่มใสเหนือท้องสนามหลวง
ในช่วงไม่มีการแข่งขัน ณ เวลานี้ของทุกปี ว่าวขนาดใหญ่และเล็ก ทุก ๆ สี ทรงและแบบก็จะลอยว่อนอยู่เต็มท้องฟ้าทั่วประเทศอยู่เสมอ บ้างก็กำลังหมุนบ้าง ลอยอยู่บ้าง ลอยขึ้นไปบ้าง โฉบลงบ้างและแม้แต่กระแทกลงกับพื้นบ้าง ผู้ใหญ่และเด็กเหมือนกันต่างก็ชอบจ้องดูท้องฟ้าอันแจ่มใสประดับประดาไปด้วยว่าวสวยงามตลอดทั้งวันหยุดในช่วงฤดูร้อน